ข้อบังคับกลุ่ม/บันทึกข้อตกลง
4. ความรับผิดชอบ
4.1 กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ รับผิดชอบในเรื่องต่อไปนี้
- ทำแผนและกำหนดหัวข้อการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานระดับสากลและกฎหมายรวมถึงดำเนินการฝึกอบรมให้กับสมาชิกกลุ่ม
- จัดให้มีการฝึกอบรม หรือจัดการประชุมเพื่อให้ข้อมูล กับ สมาชิกกลุ่ม ชุมชนท้องถิ่น คนงาน และ/หรือ ผู้รับเหมาช่วง ตามความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมการจัดการป่าไม้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล
- จัดทำคู่มือเกษตกรและคู่มือกลุ่มการจัดการป่าไม้ของบริษัทพร้อมให้ความรู้สมาชิกกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจและแนะนำกระบวนการจัดการสวนป่าของสมาชิกกลุ่มให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและคุณค่าของมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล
- ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกใหม่รวมถึงการเข้าประเมินภาคสนามของพื้นที่ผู้สมัครใหม่เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าก่อนรับสมาชิกใหม่เข้าในกลุ่มรวมถึงให้ข้อมูลแก่สมาชิกกลุ่มหลังจากประเมินแล้ว
- สร้างความเข้าใจและควบคุมกระบวนการจัดการสวนป่าของสมาชิกกลุ่ม ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล
- ขึ้นทะเบียนสมาชิกใหม่และประสานงานเรื่องผลประโยชน์ต่างๆของสมาชิกกลุ่มฯที่รับใหม่และสมาชิกเก่าที่ได้รับตามข้อกำหนดของบริษัท
- กำหนดวิธีการควบคุมดูแลป้องกันการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมสวนป่าไม่ให้ผิดกฎหมาย การตั้งถิ่นฐาน และกิจกรรมใดๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ตรวจสอบประเมินภายในหรือตรวจเยี่ยมแปลงสวนยางพาราของสมาชิกกลุ่มทุกๆปีโดยการสุ่มตรวจประเมินกิจกรรมต่างๆที่ปฏิบัติงานอยู่ และบันทึกผลการตรวจประเมินในทะเบียนสมาชิก
- ติดตามรายงานผลการตรวจสอบประเมินจากผู้ตรวจรับรองภายในและภายนอกของสมาชิกกลุ่มและผลการดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่ในการบริหารจัดการได้รับความคุ้มครองและสอดคล้องตามข้อกำหนดกฏหมาย
- ประเมินความจำเป็นที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในสภาวะการทำงานปกติ สำหรับคนงานที่ทำกิจกรรมการจัดการป่าไม้ที่ไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรและบันทึกการตรวจสอบสภาพความปลอดภัยพร้อมใช้ของเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการจัดการป่าไม้
- เป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องทุกข์ หรือข้อร้องเรียนตามช่องทางที่กำหนด มีการสอบสวน และแก้ปัญหาตามแนวทางในการติดตามการแก้ไขข้อร้องเรียน และกำหนดการชดเชยความสูญเสีย และเสียหาย อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ
- เป็นผู้บริหารจัดการและควบคุม สถานภาพการรับรอง ของสมาชิกกลุ่มให้คงสภาพเหมือนเดิมตลอดเวลา
- มีส่วนร่วมในการสื่อสารกับชุมชนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สนใจ ในหลายช่องทาง เพื่อระบุผลกระทบทางสังคมที่เป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ จากกิจกรรมการจัดการป่าไม้
- ต้องกำกับดูแลและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจากกิจกรรมการจัดการป่าไม้ หรือความเสียหายที่อาจกระทบต่อชุมชน
- ควบคุมและดูแลจัดการการเคลื่อนย้ายไม้ ของสมาชิกกลุ่มให้เป็นไปตามวิธีการปฎิบัติงานที่ข้อกำหนด
- ส่งเสริมให้ความรู้ระบบ วนเกษตรในแปลงสวนยางของสมาชิกกลุ่มตั้งแต่เริ่มปลูกยางจนโค่นไม้ยาง
- ต้องอธิบายวิธีการให้สมาชิกกลุ่มเข้าใจและมั่นใจว่า สารเคมี, บรรจุภัณฑ์, ขยะที่ไม่ใช่อินทรีย์ทั้งของเหลวและของแข็ง ไม่ถูกทิ้งอยู่ภายในพื้นที่สวนยางของสมาชิกและมีการกำจัดอย่างเหมาะสม
- วางระบบการจัดการร่วมกับสมาชิกกลุ่มในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของสวนยางพาราสมาชิกกลุ่ม
- เป็นผู้แทนของสมาชิกกลุ่มในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม กับชุมชนท้องถิ่น
- จัดทำรายงานและแจ้งผู้ตรวจรับรองถึงความเปลี่ยนแปลงของสมาชิกกลุ่ม ทั้งที่สมัครเข้ามาเพิ่ม และพ้นสภาพการเป็นสมาชิก
- จัดทำเวปไซด์(website)ของกลุ่มจัดการป่าไม้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่างๆของกลุ่มจัดการป่าไม้รวมถึงสามารถร้องเรียนผ่านทางเวปไซด์ของกลุ่มได้ และทำการอัพเดตเวปไซด์อย่างสม่ำเสมอ
- เก็บรักษาบันทึกต่างๆของสมาชิกกลุ่มหรือเอกสารกระบวนการที่เกี่ยวข้องให้สมบูรณ์และเป็นปัจจุบันตามมาตรฐานการดูแลป่าไม้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี
- จัดทำข้อตกลงภายใต้เงื่อนไขการรับรองกลุ่มและอธิบายให้สมาชิกกลุ่มได้เข้าใจและยอมรับตามข้อตกลงก่อนรับเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มตามแนวทางมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล
- กำหนดให้สมาชิกกลุ่มมีการตัดโค่นไม้ยางแล้วให้ดำเนินการปลูกยางใหม่ภายในระยะเวลา 2 ปี
4.2 สมาชิกกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ รับผิดชอบในเรื่องต่อไปนี้
- เข้าประชุมเพื่อรับฟังความรู้ใหม่ๆที่ทางกลุ่มจัดการป่าไม้ฯได้จัดขึ้น
- ศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากลและให้ความร่วมมือในการเข้ารับการฝึกอบรมที่ดำเนินการโดยกลุ่มจัดการป่าไม้
- ทำความเข้าใจในคู่มือกลุ่มเกษตรเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการป่าไม้ฯรวมถึงวิธีการต่างๆที่นำมาใช้ดูแลในสวนยางพาราที่ทางกลุ่มได้จัดหามาให้
- จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการสมัครสมาชิกใหม่ตามที่เจ้าหน้าที่กลุ่มฯต้องการ และอนุญาติให้เจ้าหน้าที่กลุ่มฯเข้าตรวจประเมินแปลงสวนยางเบื้องต้นเพื่อเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง
- ทำความเข้าใจและวางแผนจัดการแปลงสวนยางพาราให้พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล
- ทำความเข้าใจในเอกสารคู่มือการจัดการและยอมรับผลประโยชน์ต่างๆที่ได้รับสำหรับสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่าตามข้อกำหนดของบริษัท
- ปฏิบัติตามวิธีการควบคุมดูแลป้องกันการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมสวนป่าอย่างถูกต้องไม่ให้ผิดกฎหมาย และไม่ทำกิจกรรมใดๆที่ไม่ได้รับอนุญาต
- อนุญาตและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯเข้าทำการตรวจสอบประเมินภายในแปลงสวนยางทุกๆปี
- แจ้งและเปิดเผยข้อมูล ภาพถ่าย ของกิจกรรมภายในสวนยางต่อเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ เช่น รอบของการใส่ปุ๋ย, การฉีดยาหญ้า, การไถในร่องยาง,การตัดหญ้า, การริดกิ่ง, การปลูกยางใหม่,การตัดโค่นขายไม้เป็นต้น
- ทำการแก้ไขความไม่ถูกต้องหรือข้อบกพร่องจากการตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ ให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
- ให้ความร่วมมือในการสวมใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย สำหรับคนงานที่ทำกิจกรรมในสวนยางตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ
- แจ้งข้อร้องเรียนหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นและร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มฯในการแก้ไขข้อร้องเรียนหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้เสร็จสิ้น
- ร่วมกับตัวแทนกลุ่มจัดการป่าไม้ในการรักษาการเป็นสมาชิก และสถานภาพการรับรองของกลุ่มตามข้อตกลง
- ตรวจสอบและดูแลไม่ให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจากกิจกรรมการโค่นไม้ยาง หรือความเสียหายอื่นที่อาจกระทบต่อชุมชน
- ปฏิบัติตามวิธีการปฎิบัติงานควบคุมดูแลการเคลื่อนย้ายไม้ของตัวแทนกลุ่มอย่างเคร่งครัด
- ศึกษาเรียนรู้ระบบวนเกษตรเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่กลุ่มฯ เพื่อสามารถนำมาปฎิบัติในแปลงสวนยาง
- ปฏิบัติตามขั้นตอนการกำจัดสารเคมี, กระสอบ, ถัง, ขยะเปียกและขยะแห้ง และการกำจัดดอย่างเหมาะสม หรือทิ้งขยะลงในภาชนะที่ทางเจ้าหน้าที่กลุ่มฯจัดเตรียมไว้ให้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการฯในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของสวนยางพารา
- เข้าร่วมกับกลุ่มจัดการป่าไม้ฯในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านสังคม กับชุมชนท้องถิ่นเมื่อจำเป็น
- แจ้งและรายงานให้ตัวแทนกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ รับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสวนยางหรือเหตุผลการลาออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม
- สามารถเข้าไปศึกษาหรือดูข้อมูลข่าวสารของกลุ่มรวมถึงข้อร้องเรียนต่างๆของสมาชิกในกลุ่มผ่านทางเวปไซด์
- เก็บรักษาบันทึกต่างที่เจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯให้ไว้ ตามเวลาที่กำหนด เช่นบันทึกข้อตกลงของกลุ่ม ใบเสร็จการจ่ายภาษี, บัตรประกันอุบัติเหตุ,ใบเสร็จขายน้ำยาง,ใบเสร็จซื้อยาฆ่าหญ้า,ใบเสร็จซื้อปุ๋ย,และอื่นๆ
- ศึกษาและยอมรับข้อตกลงที่ทำร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ รับทราบหากทำการปลูกยางใหม่ทดแทนในระยะเวลา 2 ปี หลังจากโค่นไม้ยางแล้ว
หากสมาชิกกลุ่มการจัดการป่าไม้สยามไฟเบอร์บอร์ด ไม่ปฏิบัติตามในบันทึกข้อตกลงภายใต้เงื่อนไข การรับรองแบบกลุ่มตามแนวทางมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากลหรือไม่ทำการแก้ไขปรับปรุงในกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ใน “รายงานผลการตรวจสอบประจำปี” กลุ่มจัดการป่าไม้สยามไฟเบอร์บอร์ด
มีสิทธิอำนาจในการแจ้งให้พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ ได้โดยจะแจ้งเตือนให้ทราบก่อนจำนวน 2 ครั้ง และรวบรวมระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ผู้สมัครที่ได้รับพิจารณาอนุมัติให้เป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว จะไม่สามารถเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นในการรับรองประเภทหรือลักษณะเดียวกันนี้ได้อีก
หากสมาชิกกลุ่มการจัดการป่าไม้สยามไฟเบอร์บอร์ด ไม่ปฏิบัติตามในบันทึกข้อตกลงภายใต้เงื่อนไข การรับรองแบบกลุ่มตามแนวทางมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากลหรือไม่ทำการแก้ไขปรับปรุงในกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ใน “รายงานผลการตรวจสอบประจำปี” กลุ่มจัดการป่าไม้สยามไฟเบอร์บอร์ด
มีสิทธิอำนาจในการแจ้งให้พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ ได้โดยจะแจ้งเตือนให้ทราบก่อนจำนวน 2 ครั้ง และรวบรวมระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ผู้สมัครที่ได้รับพิจารณาอนุมัติให้เป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว จะไม่สามารถเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นในการรับรองประเภทหรือลักษณะเดียวกันนี้ได้อีก
6. อำนาจ
สมาชิกกลุ่มต้องดำเนินการจัดการป่าไม้ให้สอดคล้องกับหลักการและเกณฑ์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการป่าไม้ระดับสากล และมอบอำนาจให้กลุ่มจัดการป่าไม้ฯ ดำเนินการยื่นเพื่อขอรับการตรวจรับรองฯแบบกลุ่มในฐานะของกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ (Group Entity)